เป็นคำถามคลาสสิค และเป็นคำถามที่มีมานานมากแล้ว ตั้งแต่เริ่มมีแปรงสีฟันไฟฟ้าเข้ามาสถิตอยู่ในโลกนี้…โอเค งั้นเราจะเลือกแบบไหนดีระหว่าง แปรงสีฟันไฟฟ้า กับ แปรงสีฟันธรรมดา?
มันมีทั้งขอดีและข้อเสียของแต่ละแบบ ถ้าความคล่องแคล่วในการใช้มือลดลง (มักจะพบในผู้ป่วยทุพพลภาพหรือผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ) แปรงสีฟันไฟฟ้าจะเหมาะกับคนกลุ่มนี้อย่างมาก แต่ไม่ได้หมายความว่ามันไม่เหมาะกับคนปกติที่ไม่ได้ป่วยนะ…คนร่างกายปกติก็ใช้ได้!
เพราะแปรงสีฟันไฟฟ้าสามารถช่วยขจัดคลาบพลัคบนฟันของคุณได้ บางตัวมีฟังก์ชั่นการจับเวลาเพื่อทำให้แน่ใจว่าคุณแปรงฟันครบ 2 นาที บางตัวก็มีตัวเซ็นเซอร์คอยเตือนให้รู้ ว่าคุณกำลังแปรงฟันแรงเกินไปซึ่งมันจะทำให้เคลือบฟันของคุณเสียหายได้
แล้วจะเลือกแปรงสีฟันให้เหมาะกับเรายังไง?
ทุกวันนี้เราเดินเข้าไปตามร้านสะดวกซื้อหรือต่างๆ มันมีแปรงให้เราเลือกมากมายและใช่ไหม คำแนะนำของเราก็คือ

วิธีเลือกขนาดหัวแปรงสีฟัน
1. ขนาดหัวแปรง
สำหรับผู้ใหญ่ควรหาหัวแปรงสีฟันที่มีความกว้างประมาณ ½ นิ้ว และยาวประมาณ 1 นิ้ว และมีด้ามจับที่ยาวพอที่จะจับได้กระชับถนัดมือ ถ้าใหญ่ไปก็ยากในการทำความสะอาดในส่วนของฟันกราม ถ้าเล็กไปก็ทำความสะอาดได้ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ถั่วถึง
เพราะยกแขนแปรงฟันนานจนเมื่อยล้าก่อน
2. ความแข็งอ่อนของขนแปรง
มีให้เลือกอยู่ 3 แบบ (แบบอ่อน, แบบกลาง, แบบแข็ง)
แบบที่ดีที่สุดคือ… แบบอ่อนนุ่ม!
ขนแปรงไนลอนที่อ่อนนุ่มคือดีที่สุดและปลอดภัยต่อเหงือกและฟันมากที่สุด
ขนแปรงแบบกลางและแข็งก่อให้เกิดอันตรายได้มากกว่า ความแข็งของมันทำให้เหงือกและเคลือบฟันของคุณเสียหายได้ เสียหายแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความแรงที่คุณแปรงมันลงไปนั่นแหละครับ
3. ลักษณะขนแปรง
แบบกลมหรือแบบเหลี่ยมดี? แน่นอนครับ ขนแปรงแบบโค้งมนปลอดภัยกว่า เนื่องจากไม่มีขอบแหลมคมที่อาจทำให้เหงือกเสียหายได้ เพราะถ้าเหงือกเสียหายมันก็เพิ่มโอกาสติดเชื้อและการอักเสบได้นั่นเอง
หากคุณยังไม่แน่ใจว่าแปรงสีฟันไฟฟ้า กับ แปรงสีฟันธรรมดา ชนิดใดที่เหมาะกับตัวเองที่สุด ง่ายที่สุดคือการปรึกษาทันตแพทย์ ถ้าขณะที่คุณอ่านบทความนี้อยู่คือวันที่คุณห่างหายจากการขูดหินปูนไปนานแล้ว ก็ถือโอกาสนี้เข้าไปขูดแล้วก็ปรึกษาทันตแพทย์ได้เลย
ถ้าให้เราแนะนำ… ก็ไม่ต้องรอให้ครบ 6 เดือนหรอกครับ แค่ 3 เดือนน้องหินปูนก็เข้ามาจับจองที่นั่งตามขอบเหงือก จ้องดูคุณกินข้าวแล้วก็ช่วยกันส่งกลิ่นอโรมาให้คู่สนทนาของคุณเรียบร้อยแล้วครับ
ไปหาหมอได้แล้วครับ
ค้นหาคลินิกใกล้บ้านคุณ
ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ก็สามารถค้นหาคลินิกทันตกรรมที่ใกล้ที่สุดสะดวกที่สุดสำหรับคุณ หรือคลินิกที่มีบริการการรักษาที่ตรงกับความต้องการของคุณได้เลย
ค้นหาที่มา: www.dentalassociates.com